วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กูเกิล เอิร์ธ (Google Earth)
                เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทกูเกิล สำหรับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือในโทรศัพท์มือถือ ดูภาพถ่ายทางอากาศพร้อมทั้งแผนที่ เส้นทาง และผังเมืองซ้อนทับลงในแผนที่ รวมทั้งระบบ จีไอเอส ในรูปแบบ 3 มิติ

กูเกิล เอิร์ธ ใช้ข้อมูลจาก ภาพถ่ายทางอากาศของ U.S. public domain และ ภาพถ่ายดาวเทียมของคีย์โฮล มาดัดแปลงร่วมกับ ระบบแผนที่ของกูเกิล จาก กูเกิลแมพ รวมทั้งการทำงานร่วมกับ กูเกิลโลคอล เพื่อค้นหารายชื่อร้าน เช่น ร้านขายของ ธนาคาร และปั๊มน้ำมันในแผนที่ได้ โดยนำแผนที่มาซ้อนทับลงบนตำแหน่งที่ต้องการ ตำแหน่งที่ต้องการค้นหา สามารถหาได้จาก บ้านเลขที่ ลองจิจูด ละติจูด ทั้งยังทำงานผ่านรูปแบบภาษาของKML (Keyhole Markup Language)
ภาพตึกจำลอง 3 มิติ ที่มีลักษณะเป็นสีเทาในกูเกิล เอิร์ธ ได้รับลิขสิทธิ์ส่วนหนึ่งมาจาก ซอฟต์แวร์ของ แซนบอร์น (Sanborn) ในชื่อ ซิตีเซ็ทส์ (CitySets) โดยรูปตึก 3มิติในรูปแบบที่สมบูรณ์สามารถเรียกดูได้ผ่านทางซิตีเซ็ทส์

ประเภทของ Google Earth 
Google Earth ได้แบ่งบริการออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1.    Google Earth เป็นบริการภาพถ่ายจากดาวเทียม สามารถค้นหาสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียนหรือโรงพยาบาล (ค่อนข้างละเอียดสำหรับประเทศอเมริกา แต่ข้อมูลเรื่องสถานที่ในบ้านเราไม่ค่อนละเอียดสักเท่าไร มีเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ) บริการ Google Earth ส่วน นี้มีให้ใช้ฟรี สามารถอัพเกรด เป็น Google Earth Plus ในภายหลังได้
2.   Google Earth Plus เป็นบริการสำหรับใช้ในการพาณิชย์หรือเชิงธุรกิจจะมีข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ที่ละเอียดมากขึ้น สามารถดูภาพในลักษณะ 3 มิติได้ ส่วนนี้จะคิดค่าบริการ 400 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
3.   Google Earth Enterprise Solution สำหรับลูกค้าที่ต้องการบริการที่จำเพาะเจาะจงมากกว่าการใช้งานปกติ แล้วต้องการอาศัย Data Base ของ Google ในการพัฒนา แอพพลิเคชันให้เหมาะสมกับความต้องการ
 ความสามารถของโปรแกรม
       การรันโปรแกรมที่จะใช้ในการดูแผนที่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบว่าซอฟต์แวร์นั้นๆ รองรับกับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่ ซึ่งการที่เราจะใช้งานโปรแกรม Google Earth นี้ จำเป็นอย่างยิ่งว่าจะต้องมีทรัพยากร หรือสเปคของเครื่องที่สูงพอสมควร ลองคลิกเข้าไปดูในเว็บไซต์ ที่ เมนู Get Google Earth จะบอกรายละเอียดของเครื่องของระบบการโดยละเอียด
ประโยชน์ ในการประยุกต์ใช้ Google Earth ในด้านต่างๆ
    การให้บริการ Google Earth ทำให้เกิดการให้บริการทางด้านต่างๆมากมาย เช่น
1. การทหารและการป้องกันประเทศ
2. นักธรณีวิทยา ใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เขตพื้นที่ป่าถูกทำลาย
3. กรมพัฒนาที่ดิน การสำรวจหาพื้นที่พัฒนาที่ดิน
4. ด้านสถาปัตยกรรม และการก่อสร้างแสดงรูปแบบของโครงการในรูปแบบของ โมเดลของโครงการที่จะสร้างขึ้นมาว่า มีลักษณะเป็นอย่างไรเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ
5. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือพวกนายหน้าค้าที่ดิน ใช้อ้างอิงที่ดิน นำข้อมูลได้ในมี
การแสดงภาพการพัฒนาที่ดิน ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่แหล่งเงินของโครงการ ไปจนถึงผู้ซื้อ สามารถมองเห็นรูปแบบของโครงการได้อย่างชัดเจน ทำให้การประเมินศักยภาพของโครงการเป็นไปด้วยความสะดวกการวางแผนการจัดการเกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยก็สามารถ เห็นภาพได้อย่างชัดเจน
6. ธุรกิจค้าปลีกย่อย หาที่ตั้งทำเลในการทำธุรกิจ
7. ครูภูมิศาสตร์ สามารถใช้แผนที่ในการประกอบการเรียนการสอน
8. นักท่องเที่ยว รู้เรื่องเส้นทางและข้อมูลเรื่องอาหาร ที่พัก ที่เที่ยว
9. และบุคคลที่สนใจทั่วไป ไม่ว่าจะศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์ ใช้สำรวจพื้นที่

ข้อเสียของ Google Earth
1. มีลักษณะคล้ายกับการโจรกรรมทางทหาร หรือ อาจจะเรียกว่า ดาวเทียมโจรกรรม
เป็นการขโมยข้อมูล
2. ภาพถ่ายดาวเทียมอาจจะไปบันทึกภาพสิทธิส่วนบุคคล เช่น ภายในรั้วบ้านที่มีสระน้ำ
3. จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง


 วิธีการติดตั้ง

1. Download โปรแกรม Google - Earth จากhttp://www.google.com/intl/th/earth/index.html
 1. Click ที่ปุ่ม ดาวน์โหลด Google Earth 6”
2. Clickที่ปุ่ม ยอมรับและดาวน์โหลด
3. Clickเมาส์ที่ปุ่ม“Run”


2. เปิดโปรแกรม Google Earth เพื่อใช้งาน
1. ขั้นตอนการเปลี่ยนเมนูภาษา (จากเมนูภาษไทย ให้เป็นเมนูภาษาอังกฤษ)
1. Click “เครื่องมือ
2. Click “ตัวเลือก
3. เลือกTab “ทั่วไป
4. เปลี่ยนภาษาที่ การตั้งค่าภาษา
5. Click “ตกลง
6. ปิดโปรแกรม Google Earth

2. เปิดโปรแกรม Google Earth ขึ้นมาใหม่
       จะมีหน้าต่าง “Start-Up Tip”ขึ้นมา ในส่วนของหน้าต่างนี้ จะเป็น ระบบช่วยเหลือ ซึ่งจะแสดงการทำงานของ Program ในแต่ละส่วน เมื่อClick “Previous Tip” ก็จะแสดงรายละเอียดส่วนอื่น โดยถ้าไม่ต้องการให้ แสดงทุกครั้งที่เข้าใช้โปรแกรม ให้ทาการClickเครื่องหมายถูกตรง “Show tips at start-up”ออก แล้วกด Close หน้าต่างนี้ก็จะไม่แสดงขึ้นมาให้เห็นอีกเมื่อเข้าใช้โปรแกรมในครั้งต่อไป
สเปคคอมพิวเตอร์ที่ใช้สเปคต่ำสุดที่รองรับ

- ระบบปฏิบัติการ Windows 2000, Windows XP
-ความเร็วของ CPU speed: Intel Pentium III 500 MHz
- หน่วยความจำ System memory (RAM): 128MB
- ฮาร์ดดิสก์ 200MB hard-disk space
- การ์ดแสดงผลแบบ 3D : 3D-capable video card with 16MB VRAM
- ความละเอียดของจอ 1024x768, 32-bit true color screen
-
 ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต speed: 128 kbps ("Broadband/Cable Internet")


สเปคที่แนะนำ

- ระบบปฏิบัติการ Windows XP
- ความเร็วของCPU speed: Intel® Pentium® P4 2.4GHz+ หรือ AMD 2400xp+
- หน่วยความจำSystem memory (RAM): 512MB - ฮาร์ดดิสก์ 2GB hard-disk space
- การ์ดแสดงผลแบบ 3D : 3D-capable video card with 32MB VRAM or greater
- ความละเอียดของจอ 1280x1024, 32-bit true color screen
- ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต speed: 128 kbps ("Broadband/Cable Internet")




วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สร้างกรอบรูปและเงา เพื่อเพิ่มมิติให้ภาพ ด้วย Photoshop


1. ทำการสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมา โดยเลือกที่ File --> New
            


2. กำหนดขนาดของไฟล์งานตามต้องการ โดยในที่นี้ปรับค่าความกว้างเป็น 800px ความสูงเป็น 600px และตั้งค่า Background Contents เป็น White เพื่อให้พื้นหลังมีสีขาว

3. ต่อมาก็เปิดรูปที่เราต้องการ โดยเลือกที่ File --> Open
             

4. เลือกรูปที่เราต้องการนำมาใช้ โดยตัวรูปนั้นจะต้องมีขนาดเล็กกว่างานที่เราสร้างขึ้นมา ถ้ารูปมีขนาดใหญ่กว่า เราต้องสร้างหน้างานขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีขนาดใหญ่กว่ารูปที่ต้องการใช้

5. เลือกที่เครื่องมือ Move Tool และคลิกเมาส์ซ้ายค้างไว้ที่รูปที่เราเปิดขึ้นมา และทำการลากรูปมาไว้บนไฟล์ที่เราสร้างขึ้นมา


6. ในเมนู Layer ให้ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ Layer (ตรงส่วนที่เป็นรูปภาพ) เพื่อทำการใส่เส้นขอบและเงา
             

7. เราจะได้หน้าต่างใหม่ขึ้นมา ซึ่งเมนูที่เราจะใช้ในที่นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 เมนู คือ

- Stroke สำหรับทำการใส่เส้นขอบ
- Droup Shadow สำหรับทำการใส่เงาให้ภาพ
             

8. เลือกที่เมนู Stroke และทำการปรับขนาดและสีของเส้น การปรับค่าต่างๆ มีที่ต้องใช้งานบ่อยๆ ดังนี้

- Size ใช้ปรับขนาดความหนาบางของเส้น โดยมีหน่วยเป็น pixel
- Position ตำแหน่งของเส้น เช่น ให้เส้นที่เราสร้างอยู่ภาพนอกรูปภาพ อยู่กึ่งกลาง หรืออยู่ภายในของรูปภาพ
- Opacity ค่าความชัด หรือความเจือจาง ของเนื้อสีขอบ
- Color เลือกสีของขอบ ทำได้โดยการ ดับเบิ้ลคลิก ที่สีภายในกรอบสี่เหลี่ยม
 

9. เลือกที่เมนู Drop Shadow จะมีเครื่องมือควบคุมต่างๆ ที่ใช้สำหรับการกำหนดขนาด และปรับมุมของเงา ซึ่งเครื่องมือที่ใช้กันบ่อยๆ มีดังนี้

- Opacity สำหรับกำหนดความเข้ม อ่อน ของเงา
- Angle กำหนดทิศทางของเงา
- Distance สำหรับกำหนดขนาดพื้นที่ของเงา
- Size กำหนดขนาดความแผ่กระจายของเงา
 

10. ในตัวอย่าง ที่เห็นอยู่คือ ภาพที่ทำการใส่ขอบ และเงาเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีพื้นที่ด้านหลังเหลืออยู่มากพอสมควร

11. เลือกที่เครื่องมือ Crop tool เพื่อทำการ crop ให้เหลือเฉพาะพื้นที่ที่เราต้องการ

12. เพียงเท่านี้เราก็จะได้ภาพที่มีเส้นขอบ และเงา พร้อมนำไปใช้ได้